Olaf the Snowman - Disney's Frozen

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

องค์ประกอบในการถ่ายภาพ

องค์ประกอบพื้นฐานส าหรับการถ่ายภาพ

 ส าหรับการถ่ายภาพให้ได้ภาพที่ตรงตามความต้องการ มีคุณค่า มีความงามทางด้านศิลปะ
นอกจาก จะท าความเข้าใจในเรื่องของการใช้กล้องถ่ายภาพ และเครื่องมือที่มีคุณภาพแล้ว การจัด
องค์ประกอบภาพ ก็เป็นสิ่งที่ส าคัญ ที่จะท าให้ได้ภาพมีคุณค่าขึ้น ดังนั้นจึงควรที่จะท าความเข้าใจ
เกี่ยวกับหลักการจัดองค์ประกอบของภาพ โดยหลักเบื้องต้นในการจัดองค์ประกอบภาพมี 2
ประเภทได้แก่
 1. ผู้ถ่ายจัดวางสิ่งของที่จะถ่ายตามความพอใจ ส่วนใหญ่จะเป็นการถ่ายสิ่งที่อยู่นิ่งและสิ่ง
ที่ไร้ชีวิต เช่น ดอกไม้ เครื่องเรือน เครื่องเล่น เครื่องกีฬา และรวมทั้งการถ่ายภาพคนครึ่งตัว
 2. ผู้ถ่ายหามุมถ่าย หรือเปลี่ยนเลนส์ใกล้-ไกล ตลอดจนการใช้วิธีการอื่ น ๆ เพื่อให้ได้
ภาพสวยงามตามต้องการ เนื่องจากไม่สามารถจะจับวางสิ่งที่จะถ่ายให้อยู่ในต าแหน่งตามอ าเภอใจ
ได้ เช่น ทิวทัศน์ตามธรรมชาติ หรือเหตุการณ์เคลื่อนไหวต่าง ๆ
 การจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพได้ประยุกต์มาจากวิชาวาดเขียน คือ ถ่ายภาพให้คล้าย
กับภาพวาด โดยใช้วิธีเดียวกันกับจิตรกรวาดภาพที่ต้องพยายามจัดวางองค์ประกอบภาพให้สมบูรณ์
ที่สุด ให้แสดงเรื่องราว อารมณ์ และบรรยากาศอย่างเด่นชัด

หลักใหญ่ในการจัดองค์ประกอบภาพ
 1. ต าแหน่งจุดเด่นหรือจุดสนใจ (point of interest)
 หลักการประกอบภาพนั้น นิยมวางจะเด่นหรือจุดสนใจไว้ตรงจุดตัด 9 ช่อง ไม่ว่า
จะเป็นภาพแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก็ตาม (ดังภาพประกอบ)





ภาพโครงร่างภาพที่เน้นจุดสนใจ



ภาพที่เน้นจุดสนใจต าแหน่งบนซ้าย
 จุดทุกจุดที่ตัดกันระหว่างเส้นนั้น ถือว่าเป็ นต าแหน่งส าหรับวางจุดเด่นได้ การที่ไม่
วางจุดเด่นไว้ตรงกลางภา พ เนื่องด้วยคนเราดูภาพมักจะมองดูตรงกลางก่อน ถ้าวางจุดเด่นอยู่ตรง
กลางแล้ว ส่วนอื่น ๆ ของภาพย่อมขาดความส าคัญไป จึงควรใช้เนื้อที่ของภาพให้เป็นประโยชน์ทุก
ตารางนิ้ว
2. ความสมดุลของภาพ (balance)
 ความสมดุลในการจัดองค์ประกอบภาพนั้นคือ การจัดวางสิ่งต่าง ๆ ในภาพให้มีความ
สมดุลกัน โดยมิให้ด้านใดด้านหนึ่งของภาพหนักกว่าอีกด้านหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นด้านซ้าย-ขวา หรือ
ด้านบน-ล่าง หากวางส่วนส าคัญต่าง ๆ ให้เหมาะสม จะท าให้ความสมดุลในองค์ประกอบสวยงามดี
ขึ้น

ภาพแผนภาพความสมดุลของภาพ
 ที่มา : ประสพ มัจฉาชีพ. (2548).
 


ภาพตัวอย่างภาพมีความสมดุลแบบไม่เท่ากัน
 3. ความสมดุลของสี (tone balance)


 1 2 3
ภาพแผนภาพความสมดุลของสี
 ส่วนสัมพันธ์ต่าง ๆ ของสีในภาพก็เป็นสิ่งส าคัญที่จะต้องค านึงถึง จากภาพที่ 3 รูปที่ 1 - 2
จะเห็นได้ว่า การจัดสีเข้มไว้เบื้องล่างจะแลดูดีกว่าวางอยู่ข้างบน ส่วนภาพที่ 3 หากมีความจ าเป็นที่
จะต้องมีสีเข้มอยู่ส่วนบน ก็ควรแก้ไขด้วยการสอดแทรกสีอ่อนลงไปบ้าง ในท านองเดียวกัน หาก
ด้านบนมีสีอ่อนมากไป ก็อาจเสริมสีเข้มเข้าไปบ้างก็ได้ จะท าให้ความสมดุลของสีดีขึ้น
 4. การเน้นสี (emphasis on tone)
 การเน้นสีเป็นการเน้นจุดเด่นให้เห็นเด่นชัดจริง ๆ เนื่องจากจุดเด่นนั้นมีความส าคัญใน
เรื่องน้ าหนักของสี เช่น จุดเด่นมีน้ าหนักสีเข้ม ก็ควรให้วางอยู่ในที่ที่มีพื้นสีอ่อน ในทางกลับกัน
หากจุดเด่นมีสีอ่อน ก็ควรจัดให้อยู่ในพื้นที่ที่มีสีเข้มกว่า การถ่ายรูปคนที่แต่งชุดเขียวอยู่บนพื้นหญ้า
สีเขียว ย่อมจะท าให้ไม่ได้ผลดีในการเน้นสี เพราะสีทั้งสองมีน้ าหนักสีใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะถ่ายเป็น
ภาพสีหรือภาพขาวด าก็ตาม การเน้นสีย่อมจะไม่เด่นพอ





ภาพภาพเน้นสีตัดกัน
 การเน้นสีในภาพสี
 เป็นที่ทราบกันบ้างแล้วว่า สีรุ้ง ประกอบด้วย สีแดง ส้ม เหลือง เขียว ฟ้า น้ าเงิน
ม่วง จ านวนสีรุ้งทั้ง 7 สีนี้ สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่มด้วยกัน คือ
 - กลุ่มสีอุ่น ได้แก่ สีแดง สีส้ม สีเหลือง
 - กลุ่มสีเย็น ได้แก่ สีฟ้า สีน้ าเงิน สีม่วง
 ส่วนสีเขียวนั้น ถือกันว่าเป็นสีกลาง นับเข้ากับกลุ่มไหนก็ได้
 เมื่อเราเห็นไฟ เราก็จะรู้สึกว่าร้อน เมื่อเราเห็นดวงอาทิตย์จะรู้สึกอุ่น ดังนั้น เมื่อเราเห็นสี
แดง ส้ม เหลือง ความรู้สึกในด้านจิตใจจะเกิดความอบอุ่น ตื่นเต้น ทะเยอทะยาน ครั้นเมื่อเราเห็นฟ้าสี
คราม เห็นป่าสีเขียว เราจะรู้สึกเยือกเย็นสงบและเดียวดาย การสัมผัสด้วยตานี้เอง คืออิทธิพลของสีที่
ส่งผลกระทบถึงจิตประสาทคนเราได้ ในการถ่ายภาพจึงเป็นการสมควรที่เราจะต้อง เลือกใช้สีให้
ถูกต้อง ตามกาลเทศะตามเรื่องราว และตามอารมณ์ของภาพอย่างร ะมัดระวัง สมมติว่าเราจะ
ถ่ายภาพคนที่แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง การที่จะให้สีตัดกันอย่างได้ผล เราจะเลือกใช้สีฟ้าหรือสี น้ า
เงินเป็นฉากหลัง ในทางตรงกันข้าม หากถ่ายภาพผู้สวมเสื้อผ้าสีน้ าเงิน เราก็ควรเลือกใช้สีแดง สีส้ม
หรือสีเหลืองมารองรับในฉากหลัง เพื่อให้ผลในการตัดกันของสีดูเด่นดี นอกเหนือไปจากการใช้สี
อุ่น ตัดกับสีเย็นแล้ว เราอาจพลิกแพลงใช้สีที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันมารวมอยู่ในภาพด้วยกันก็ได้ ทั้งนี้
เพื่อการแสดงอารมณ์ตามเรื่องราวของภาพให้เด่นชัด เช่น เมื่อเราต้องการให้ภาพแสดงอารมณ์รุ่มร้อน
ตื่นเต้น ทะเยอทะยาน เราก็ใช้สีแดงตัดกับสีแดงได้ เพียงแต่ให้มีความเข้มและความอ่อนแตกต่างกัน

ภาพใช้สีดูกลมกลืนกัน
 5. การเน้นลักษณะของรูปทรง (emphasis of forms)
 ลักษณะรูปทรงต่าง ๆ ในภาพถ่ายมีได้หลายแบบ เช่น
 - รูปสามเหลี่ยม เป็นเครื่องหมายแห่งความมั่นคง หนักแน่น
 - รูปตัว S แสดงถึงความอ่อนช้อย อ่อนหวาน นุ่มนวล
 - รูปตัว L แสดงถึงการเชื่อมโยง ความผูกพัน เกี่ยวพันถึงกัน
 นอกจากนี้ ลักษณะของภาพที่วางเป็นเส้นท แยงมุม ย่อมแสดงถึงการเคลื่อนไหว ความ
รุนแรง และยังมีลักษณะรูปทรงอื่น ๆ อีกมากมาย


ภาพเน้นรูปทรงสามเหลี่ยม
 
 6. การแสดงซ้ าซากหรือล้อเลียน (repetition echo)
 องค์ประกอบในภาพถ่ายอาจจะมีการแสดงซ้ าซากหรือล้อเลียน เปรียบเช่นโคลงกลอนที่
ไพเราะจับใจ จะต้องมีเสียงสัมผัสที่ดี หรือดนตรีที่ไพเราะน่าฟัง ก็ต้องมีท่วงท านองและลูกคู่ที่คล้อง
จองพร้อมเพรียงกัน
 7. บรรยากาศและอารมณ์ (atmosphere and emotion)
 ภาพถ่ายก็คล้ายกับภาพเขียนที่มีการแสดงออกถึงบรรยากาศท าให้ผู้ชมเกิดอารมณ์
คล้อยตาม เช่น เกิดความหนาว เยือกเย็น เกิดความสงบหรือความรุ่มร้อน รุนแรง รวมทั้งอารมณ์
ของภาพที่แสดงผลไปในทางแจ่มใส ร่าเริง สดชื่น หรือเศร้าโศก อับเฉา เป็นต้น




ภาพนาเกลือแสดงบรรยากาศสงบ อบอุ่น
 8. ความลึกและทัศนมิติ (third dimention)
 ตามปกติแล้ว แผ่นภาพถ่ายจะมีเพียง 2 มิติ คือความกว้างและความยาวเท่านั้น ส่วน
ความลึกนั้นไม่มี การที่จะท าให้ภาพเกิดความลึกด้วยนั้น ท าได้หลายวิธี เช่น
 - เน้นสิ่งที่อยู่ใกล้ให้มีสีเข้ม แล้วค่อย ๆ ให้สีจางลงไปตามระยะที่ห่างออกไป
 - ประกอบโครงสร้างล้อมกรอบอยู่ในฉากหน้าของภาพ
 - เน้นความชัดเฉพาะจุดเด่นที่อยู่ใกล้ ปล่อยให้สิ่งที่อยู่ไกลถัดไปพร่ามัวตามล าดับ
 - สรรหาสิ่งที่เป็นทิวแถว เน้นตอนหน้าให้มีลักษณะใหญ่แล้วค่อย ๆ ลดขนาด
ลงตามระยะ
 - ใช้เส้นน าสายตาไปสู่จุดสนใจ จากใกล้ไปถึงไกล
 - ให้แสงส่องมาจากด้านข้างหรือด้านหลัง พร้อมกับใช้ฉากหลังที่มีสีเข้มท าให้
เกิดความลึกแก่ภาพเช่นเดียวกัน


 









ภาพแสดงความลึก
 9. เนื้อที่ของภาพ (picture area)
 เนื้อที่ในแผ่นภาพทุกตารางนิ้ว มีไว้ส าหรับจัดวางองค์ประกอบ การถ่ายภาพที่ให้จุดเด่น
มีขนาดใหญ่เกินไป จะท าให้ดูรู้สึกคับภาพ จุดเด่นเล็กเกินไปก็รู้สึกว่างเปล่าและไร้ความหมาย
ความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างกับจุดเด่นจึงมีความส าคัญเกี่ยวพันกันอยู่ จุดเด่นที่มีกิริยาเคลื่อนไป
ข้างใด หรือคนหันหน้าไปทางไหน ข้างนั้นควรให้มีช่องว่างมากกว่า มิฉะนั้นจะท าให้รู้สึกว่าไม่มีที่
ว่างจะก้าวหรือเคลื่อนไป ถ้าวางจุดเด่นอยู่ชิดขอบภาพเกินไป ก็จะท าให้รู้สึกอึดอัด ดูแล้วไม่สบายใจ
ดังภาพด้านล่างนี้ จุดเด่นอยู่ที่ป้ายไฟ AMATA โดยมีแสงไฟวิ่งของรถยนต์ด้านล่าง เว้นเนื้อที่ตรง
กลางภาพ ให้แสงไฟจาก ถนนอยู่ทางด้านซ้าย
เป็นการเว้นเนื้อที่ และ ก าหนดจุดเด่นให้
ภาพดูน่าสนใจ



ภาพแสดงเนื้อที่ว่างและจุดเด่นของภาพ

 
 10. เอกภาพ (unity)
 การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ในภาพให้มีความสัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผล ตามเรื่องราวที่
ภาพแสดงออกมาและเชื่อมโยงให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ได้ชื่อว่ามีเอกภาพในภาพ
 อย่างไรก็ตาม ไม่ควรจัดส่วนต่าง ๆ ในภาพให้เรียบร้อยเกินไปจนดูแล้วรู้ได้ว่าเป็นการ
จงใจ ในเวลาเดียวกันก็ต้องขจัดสิ่งต่าง ๆ ที่จะท าให้ภาพมีความยุ่งเหยิงออกไปให้หมด การแสดงเรื่องราว
ในภาพเดียวกันหลาย ๆ เรื่องก็ท าลายเอกภาพเช่นกัน ดังภาพด้านล่าง ภาพควายก าลังแช่น้ า เป็นการ
แสดงอุปนิสัยของควายเป็นเรื่องราวเดียว




ภาพแสดงความเป็นเอกภาพ
 หลักการจัดองค์ประกอบภาพทั้งหมดที่กล่าวมานี้ มิได้หมายความว่าจะให้ยึดปฏิบัติ
อย่างเคร่งครัด หรือถือเป็นหลักการตายตัวเสมอไป แต่ส าหรับผู้ที่เริ่มถ่ายภาพใหม่ ๆ ควรที่จะน าไป
ปฏิบัติให้เข้าหลักเกณฑ์ก่อน ต่อเมื่อได้ศึกษาและฝึกฝนจนเกิดความช านาญแล้ว การที่จะพลิกแพลง
หรือสร้างสรรค์ให้ได้ภาพที่ดีกว่า แปลกตากว่า ก็สามารถท าได้ง่ายขึ้น
อ้างอิงhttp://www.student.chula.ac.th/~55436246/doc/basicphotography.pdf

แนวคิดการสร้างวิดีโอ

แนวคิดการสร้างวิดีโอ

แนวคิดในการสร้างวิดีโอ
ก่อนที่ลงมือสร้างผลงานวิดีโอสักเรื่อง จะต้องผ่านกระบวนการคิด วางแผนมาอย่างรอบครอบ ไม่ใช่ไปถ่ายวิดีโอแล้วก็นำมาตัดต่อเลย
เพราะปัญหาที่มักเกิดขึ้นเสมอก็คือการที่ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ เนื้อหาที่ถ่ายมาไม่สอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ ในที่นี้ขอแนะนำแนวคิดในการทำงาน                              
วิดีโออย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการ โดยมีลำดับแนวคิดของงานสร้างวิดีโอเบื้องต้น ดังนี้
1.  เขียน Storyboard
สิ่งแรกที่เราควรเรียนรู้ก่อนสร้างงานวิดีโอ ก็คือ
การเขียน
 Storyboard คือ การจินตนาการฉากต่างๆ ก่อนที่จะถ่ายทำจริง เพียงเขียนวัตถุประสงค์ของงานให้ชัดเจนว่าต้องการสื่ออะไรหรืองานประเภทไหน เขียนออกมาเป็นฉาก เรียงลำดับ 1, 2, 3,.......
2.  เตรียมองค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้
ในการทำงานวิดีโอ เราจะต้องเตรียมองค์ประกอบต่างๆ
ให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ ไฟล์ภาพนิ่ง ไฟล์เสียง หรือไฟล์ดนตรี



3.  ตัดต่องานวิดีโอ
การตัดต่อคือการนำองค์ประกอบต่างๆ ที่เตรียมไว้มาตัดต่อเป็นงานวิดีโอ งานวิดีโอจะออกมาดีน่าสนใจเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดต่อเป็นสำคัญ                                            ซึ่งเราจะต้องเรียนรู้การตัดต่อในบทต่อไปก่อน
4.  ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง
ในขั้นตอนการตัดต่อ เราจะต้องตกแต่งงานวิดีโอด้วยเทคนิคพิเศษต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นสี การใส่ข้อความ หรือเสียงดนตรี ซึ่งจะช่วยให้งานของเรามีสีสัน                      และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
5.  แปลงวิดีโอ เพื่อนำไปใช้งานจริง
ขั้นตอนการแปลงวิดีโอเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในการทำงานวิดีโอที่เราได้ทำเรียบร้อยแล้วนั้นไปใช้งาน โปรแกรม Ulead Video Studio สามารถทำได้หลายรูปแบบ                             เช่น ทำเป็น VCD, DVD หรือเป็นไฟล์ WMV สำหรับนำเสนอทางอินเทอร์เน็ต

อ้างอิงhttps://sites.google.com/site/vdoclassroom/unit1/i1-2-naewkhid-kar-srang-widixo

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ

มาตรฐานการแพร่ภาพวีดีโอ
                มาตรฐานการแพร่ภาพทั้งสาม ได้แก่ NTSC, PAL และ SECAM เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันในหลายพื้นที่ทั่วโลก และได้มีการพัฒนามาตรฐานใหม่ขึ้นมา เรียกว่า “HDTV (High-Definition Television” ทำให้ผู้ผลิตมัลติมีเดียจำเป็นที่จะต้องทราบถึงมาตรฐานที่ใช้งานในแต่ละพื้นที่อย่างเหมาะสม
                - National Television System Committee (NTSC) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตั้งมาตรฐานที่เกี่ยวกับโทรทัศน์และวีดีโอในสหรัฐ มาตรฐานนี้เป็นการเข้ารหัสข้อมูลแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  กำหนดให้สร้างภาพด้วยเส้นในแนวนอน 525 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 30 เฟรมต่อวินาที มีสี 16 ล้านสีที่แตกต่างกันและอัตรารีเฟรช เป็น 60 Halt-Frame (Interlace)ต่อวินาที แต่บนจอภาพคอมพิวเตอร์นั้นจะใช้วิธีการที่เรียกว่า “Progressive-Scan” ซึ่งมีความแตกต่างจากจอภาพโทรทัศน์ตรงที่สามารถสร้างภาพเป็นแบบเฟรมต่อเฟรม โดยไม่มีการ Interlacing
                - Phase Alternate Line (PAL)  เป็นมาตรฐานของโทรทัศน์และวีดีโอที่นิยมในแถบยุโรป รวมถึงไทยด้วย เป็นการสร้างภาพจากแนวนอน 625 เส้นต่อเฟรม ในอัตรา 25 เฟรมต่อวินาทีและทำการแสดงภาพด้วยวิธี Interlacing เช่นกันแต่จะแสดงภาพในอัตรารีเฟรช เป็น 50 Halt-Frame ต่อนาที
                - Sequential Color and Memory (SECAM) เป็นมาตรฐานของการแพร่สัญญาณโทรทัศน์และวีดีโอที่ใช้กันในฝรั่งเศส ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และประเทศในพื้นที่ใกล้เคียง ทำการแพร่สัญญาณแบบอนาลอก ส่วนการสร้างภาพจะเป็น 819 เส้น ด้วยอัตรารีเฟรช 25 เฟรมต่อวินาที ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรฐาน NTCS และ PAL ในเรื่องการผลิต วิธีการแพร่ภาพออกอากาศ และจากสาเหตุที่ระบบนี้ไม่แตกต่างจากระบบ PAL มากนัก เครื่องรับโทรทัศน์ในยุโรปจึงทำการพัฒนาให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ PAL และ SECAM
- High Definition Television (HDTV) เป็นเทคโนโลยีของการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อแสดงภาพที่มีความละเอียดสูง คือ 1280x720 ซึ่งเป็นความละเอียดสำหรับการแสดงภาพเช่นเดียวกับโรงภาพยนต์ แต่ในขณะพัฒนานั้นได้มีการโต้เถียงกันระหว่างกลุ่มอุตสาหกรรมโทรทัศน์กับกลุ่มอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ ว่าจะใช้ความละเอียดจอภาพเป็น1920x1080 พิกเซล หลังจากนั้นสรุปได้ว่า ความละเอียดนี้ไม่เหมาะสม ดังนั้นมาตรฐาน HDTV จึงได้กำหนดให้มีความละเอียดของจอภาพเป็น 1280x720


อ้างอิงhttp://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ

ลักษณะการทำงานของวีดีโอ
                กล้องวีดีโอเป็นการนำเอาหลักการของแสงที่ว่า แสงตกกระทบกับวัตถุแล้วสะท้อนสู่เลนส์ในดวงตาของมนุษย์ทำให้เกิดการมองเห็น มาใช้ในการสร้างภาพร่วมกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพที่ได้จะถูกบันทึกเป็นสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า สัญญาณอนาลอก ประกอบด้วยข้อมูลสี ชนิด คือ แดง เขียว น้ำเงิน (Red, Green, Blue : สีRGB) และสัญญาณสำหรับเชื่อมความสัมพันธ์ของข้อมูล (Synchronization Plus : สัญญาณ SYNC) สัญญาณวีดีโอจะถูกส่งไปบันทึกยังตลับวีดีโอ (Video Cassette Recorder : VCR) โดยการแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์เป็นสัญญาณดิจิตอลและบันทึกลงบนอุปกรณ์บันทึกข้อมูลด้วยหลักการของสนามแม่เหล็ก การบันทึกจะต้องบันทึกผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า หัวเทปวีดีโอ ที่สามารถบันทึกได้ทั้งภาพ เสียง และข้อมูลควบคุมการแสดงภาพ นอกจากบันทึกเป็นม้วนเทปวีดีโอแล้วยังสามารถบันทึกในรูปของสัญญาณวิทยุได้อีกด้วย โดยอาศัย NTSC, PAL หรือ SECAM เพื่อช่วยในการส่งสัญญาณให้สามารถแพร่ภาพทางโทรทัศน์ได้



อ้างอิงhttp://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

ชนิดของวิด๊โอ


ชนิดของวิดีโอ
                วิดีโอที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้เป็น ชนิดคือ
                1. วิดีโออะนาลอก (Analog Video) เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงให้อยู่ในรูปของสัญญาณอนาลอก (รูปของคลื่นสำหรับวีดีโอประเภทนี้ เช่น VHS (Video Home System) ซึ่งเป็นม้วนเทปวีดีโอที่ใช้ดูกันตามบ้าน เมื่อทำการตัดต่อข้อมูลของวีดีโอชนิดนี้ อาจจะทำให้คุณภาพลดน้อยลง
      2. วีดีโอดิจิตอล (Digital Video)  เป็นวีดีโอที่ทำการบันทึกข้อมูลภาพและเสียงที่ได้มาจากกล้องดิจิตอล ให้อยู่ในรูปของสัญญาณดิจิตอล คือ กับ 1 ส่วนการตัดต่อข้อมูลของภาพและเสียงที่ได้มาจากวีดีโอดิจิตอลนั้น จะแตกต่างจากวีดีโออนาลอก เพราะข้อมูลที่ได้จะยังคงคุณภาพความคมชัดเหมือนกับข้อมูลต้นฉบับ การพัฒนาของวีดีโอดิจิตอลส่งผลให้วีดีโออนาลอกหายไปจากวงการมัลติมีเดีย เนื่องจากสัญญาณดิจิตอลสามารถที่จะบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลอื่น ๆ และสามารถแสดงผลบนคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการผลิตมัลติมีเดียบนคอมพิวเตอร์ สามารถเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณดิจิตอลได้ เพียงแต่ผู้ผลิตมีทรัพยากรทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมเท่านั้น


อ้างอิงhttp://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับVDO

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ VDO

                วิดีโอเป็นองค์ประกอบของมัลติมีเดียที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากวิดีโอในระบบดิจิตอลสามารถนำเสนอข้อความหรือรูปภาพ (ภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว) ประกอบกับเสียงได้สมบูรณ์มากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักของการใช้วิดีโอในระบบมัลติมีเดียก็คือ การสิ้นเปลืองทรัพยากรของพื้นที่บนหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการนำเสนอวิดีโอด้วยเวลาที่เกิดขึ้นจริง (Real-Time) จะต้องประกอบด้วยจำนวนภาพไม่ต่ำกว่า 30ภาพต่อวินาที(Frame/Second) ถ้าหากการประมวลผลภาพดังกล่าวไม่ได้ผ่านกระบวนการบีบอัดขนาดของสัญญาณมาก่อน
 การนำเสนอภาพเพียง 1 นาทีอาจต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 100 MB ซึ่งจะทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่เกินขนาดและมีประสิทธิภาพในการทำงานที่ด้อยลง ซึ่งเมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถบีบอัดขนาดของภาพอย่างต่อเนื่องจนทำให้ภาพวิดีโอสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและกลายเป็นสื่อที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบมัลติมีเดีย  (Multimedia System)

อ้างอิงhttp://kruoong.blogspot.com/2011/07/blog-post.html